วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

สัก


สัก

ชื่อสามัญ     Teak
ชื่อวิทยาศาสตร์    Tectona grandis Linn.
ตระกูล    VERBENACEAE
ชื่ออื่น    กระเบียด
ลักษณะทั่วไป
                สักทองเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 15-30 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล เปลือกเรียบลำต้นเปลาตรงแตกกิ่งก้านครงส่วนเรือนยอด ใบเป็นใบเดี่ยว เนื้อใบหนาสากคาย ใต้ใบจะมีขน ใบมีลักษณะกลมใหญ่ขนาดใบกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายกิ่ง ดอกมีกาบหุ้มดอกเป็นรูปเรียวยาวประมาณ1 เซนติเมตรดอกมีกลีบดอก 5 แฉก ดอกมีขนาดเล็กสีขาวผลเป็นรูปทรงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางโตประมาณ 0.5 เซนติเมตร
                ความเป็นมงคล
                คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นสักทองไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีศักดิ์ศรี เพราะสัก หรือศักดิ์ คือการมีศักดิ์ศรี มีเกียรติศักดิ์ยศฐาบรรดาศักดิ์ นอกจากนี้ สัก หรือ สักกะ คือ พระอินทร์ผู้มีอานาจที่ยิ่งใหญ่ในสวรรค์ ดังนั้น สักทองจึงเป็นไม้มงคลนาม
                ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
                เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นสักทองไว้ทางทิศเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นมงคลมากยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ และเป็นผู้
ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก
                การปลูก
                นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ถ้าปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้าน หรืออาคาร ควรปลูกให้มีระยะห่างเหมาะสม เพราะสักทองเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่ ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน
อัตรา 1 : 3ผสมดินปลูกและใช้ปุ๋ยฟอสเฟต (Phosphate) อัตรา 100 - 300 กรัม/ต้น คลุกกับดินปลูก เพื่อปรับสภาพของดินให้ดีขึ้น และใช้ฟูราดาน (Furadan) อัตรา 50-100 กรัม/หลุม คลุกดินป้องกันศัตรู พวกด้วง (Apoderus notatus) และหนอน(Maggot)
                การดูแลรักษา
                แสง         ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
                น้ำ           ต้องการปริมาณน้ำน้อย ควรให้น้ำ 10 วัน/ครั้ง
                ดิน           ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นน้อย
             ปุ๋ย             ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2: 5กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ12-3-6 หรือ 16-11-14 อัตรา 100-300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 2-4 ครั้ง
                การขยายพันธุ์       การเพาะเมล็ด การใช้เหง้า วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือ การใช้เหง้า การเพาะเมล็ด
                โรค          ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะมีความทนทานสภาพธรรมชาติได้ดี
                ศัตรู         มอดเจาะต้น (Weevil) หนอนกินใบ
                อาคาร    มอดเจาะต้นทำให้เป็นรู ยอดเหี่ยวแห้ง ส่วนหนอนกินใบ จะมีเส้นใยสีขาวบนใบและกัดแทะใบอ่อน
                การป้องกัน                            ทำลายผีเสื้อที่จะวางไข่ และทำลายตัวอ่อนและทำความสะอาดบริเวณแปลงปลูก
                การกำจัด               ใช้ยาพวกทูรินจิ เอนซีส หรือ โมโนโครฟอส อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น