วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

คำพังเพย ตีงูให้หลังหัก


คำพังเพย เหยียบเรือสองแคบ


คำพังเพย รีดเลือดกับปู


คำพังเพย งมเข็มในมหาสมุทร


โครงการ


ออกแบบนิเทศศิลป์์


สาขาวิชา ออกแบบนิเทศศิลป์  

วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์

จัดทำโดย
นางสาวทิพย์ภาพร  เชื้อสุวรรณ์
นางสาวมุขธิดา  เรืองศรี

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

แสงจันทร์

แสงจันทร์



1. ชื่อ แสงจันทร์

2. ชื่ออื่น บานดึก ดอกพระจันทร์ แสงนวลจันทร์

3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Pisonea grandis R.Br., slba Span.

4. วงศ์ NYCTAGINACEAE

5. ชื่อสามัญ Lettuce Tree

6. แหล่งที่พบ พบทั่วไปทุกภาค

7. ประเภทไม้ ไม้ยืนต้นขนาดกลาง

8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง

ใบ ลักษณะของใบคล้ายใบยาสูบ ใบมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 15 ซม. ยาวประมาณ 30 ซม. ปลายใบแหลม ริมขอบใบไม่มีหยัก

9. ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน ใบอ่อน

10. การขยายพันธุ์ ด้วยการปักชำ

11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นพรรณไม้ที่ชอบแสงแดดเพียงรำไร ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณ ปานกลาง ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่อุดมสมบูรณ์ร่วนซุย

12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ตลอดปี

13. คุณค่าทางอาหาร ยังไม่มีข้อมูล

14. การปรุงอาหาร ใบอ่อน ยอดอ่อน ต้มทานเหมือนกับผักโขม หรือใช้เป็นผักทำห่อหมกได้

15. ข้อควรระวัง -

 




แสงจันทร์ เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวเทา ผิวลำต้นเรียบ

 ลำต้นและกิ่งเจริญออกไปรอบต้นใบสีเหลืองอมเขียวอ่อน ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออกตามข้อของกิ่ง เนื้อใบมองเห็นเส้นใบได้ชัด ใบบางนิ่ม ขนาดความกว้างของใบประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-30
 เซนติเมตรดอกออกเป็นช่อช่อดอกประกอบด้วยดอกเล็กๆติดอยู่ที่ก้านดอกประมาณ 10 - 15 ดอกมี 5 กลีบสีขาวช่อดอกจะออกตามปลายยอด


คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นแสงจันทร์ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความงดงามนิ่มนวลเพราะลักษณะใบแสงจันทร์ มีสีเหลืองอมเขียวอ่อน ๆ เมื่อกระทบแสงจันทร์แล้วจะเกิดประกายแสงสีเหลืองนวลเด่นงานสดใสเหมือนแสงจันทร์นอก
จากนี้ยังมี การเปรียบเทียบ ความสวยงามเหมือนกับแสงจันทร์ เพราะรัศมีของพระจันทร์ส่องแสงสีเหลือง นวลดูเด่นงามตา

ต้นปาล์มพัด

ต้นปาล์มพัด


ชื่อวิทยาศาสตร์:
Prichardia Pacifica Seem. & H.A. Wendl.


ชื่อวงศ์: PALMAE


ลักษณะวิสัย: ปาล์ม


ถิ่นกำเนิด: ถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลแปซิฟิก และเกาะฟิจิ

ลักษณะทั่วไป: เป็นปาล์มที่มีลำต้นเดี่ยว สูงประมาณ 30 ฟุต ลำต้นจะตั้งตรง เกลี้ยงเรียว ใบเป็นรูปพัดมีสีเขียวอ่อน และเป็นมัน ใต้ใบเป็นสีเงินนิด ๆ ขนาดของใบ
กว้างประมาณ 5 ฟุต ทางใบยาว 3 ฟุต ออกดอกเป็นช่อ ๆ ดอกสีเหลืองอมน้ำตาล ช่อหนึ่งจะมีดอกเป็นจำนวนมาก แต่เป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์เพศ ผลจะกลม มีขนาดเล็ก
ประมาณ 1 เซนติเมตร ในเวลาที่ผลสุกจะมีสีดำ ข้างในผลจะมีเมล็ด
การกระจายพันธุ์: เป็นไม้กลางแจ้ง เมื่อต้นเล็กชอบแสงแดดรำไร แต่พอโตขึ้นสามารถอยู่กลางแดดได้เป็นปาล์มที่ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ชอบที่แฉะ ปลูกในดินร่วนผสม
พิเศษ เหมาะที่จะปลูกไว้ในสถานที่อาณาเขตกว้าง ๆ มากกว่าที่จะปลูกไว้ในกระถาง เพราะมีใบใหญ่มาก
การขยายพันธุ์: โดยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์:
ใช้เป็นไม้ประดับสวน ทั่วไป

เต่าร้าง / หมากตาว

เต่าร้าง / หมากตาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ / ชื่อวงศ์ : Cargota smitis Lour.

ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ประดับ,ผลมีพิษ

ลักษณะ : ต้น เป็นปาล์มที่มีหน่อและขึ้นเป็นกอ สูงประมาณ 6 - 12 เมตร ใบ ใบย่อยเล็กแตกออกมาจากใบย่อยใหญ่ เป็นประเภทขนนก 2 สั้น ใบย่อยเล็ก มีลักษณะคล้ายคลีบปลาหรือหางปลา สีเขียวสดเป็นมัน ใต้ใบมีสีเขียวด้าน ดอก เป็นลักษณะช่อดอก เป็นพวงยาวประมาณ 60 - 90 ซม. แขนงช่อดอกจะมี ดอกออก 2 ข้าง รูป spike รวมเป็นกระจุก กระจุกๆละ 3 ดอก ผล มีลักษณะเป็นผลกลมเล็ก ๆ เรียงเป็นแถว ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลแก่จะมีสีม่วงดำ ผิวของผลมีขนละเอียดเล็ก ๆ ถ้าได้สัมผัสจะ ทำให้คันมาก เช่นเดียวกับ ตำแย หรือ หมามุ่ย

ประโยชน์ : ข้อมูลจากเอกสาร 1) นิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวนกลางแจ้ง แตกกอสวยงาม 2) รกที่ปกคลุมกาบใบและลำต้นมีเส้นใยทำเชือกและ เครื่องจักสาน 3.) ดอกเต่าร้างและลำต้นให้น้ำตาลเหมือนน้ำตาลมะพร้าว (jaggery sugar)

ต้นสาละลังกา


ต้นสาละลังกา


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Couroupita guianensis Aubl.
ชื่อวงศ์ : Lecythidaceae
ชื่อสามัญ : Cannon-ball tree
ชื่อพื้นเมือง : ลูกปืนใหญ่

ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้ต้น             ขนาด [Size] : สูงได้ถึง 30 เมตร
สีดอก [Flower Color] : สีชมพูอมเหลืองหรือแดง
ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Tiem] : เกือบตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ปานกลาง
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ขึ้นได้ในดินทั่วไป
 ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง
 แสง [Light] : แดดเต็มวัน
Additional
Images

                 ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้ต้นชนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นร่องและสะเก็ด
                ใบ (Foliage) :  ใบเดี่ยว  เรียงเวียนสลับ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5-8
เซนติเมตร ยาว12-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักตื้น ใบหนา
                ดอก (Flower) :   สีชมพูอมเหลืองหรือแดง  ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู   มีกลิ่นหอมมาก   ออกดอกเป็นช่อแบบ
ช่อกระจะขนาดใหญ่ตามลำต้น   ช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร   ปลายช่อโน้มลง   กลีบดอกหนา  4-6 กลีบ กลางดอกนูน สีขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปรง  เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีชมพูแกมเหลืองจำนวนมาก ทยอยบานจาก
โคนไปหาปลายช่อ นานเป็นเดือน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-10 เซนติเมตร
                 ผล (Fruit) :    ผลแห้ง  ทรงกลมใหญ่  ขนาด 10-20 เซนติเมตร เปลือกเเข็ง สีน้ำตาลปนแดง ผลสุกมีกลิ่นเหม็น
มีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่

                 การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) :  ปลูกประดับสวน   ดอกสวยมีกลิ่นหอมแรง   บานได้นาน  ผลกลม ใหญ่สะดุดตา ปลูกในพื้นที่กว้าง เช่น สวนในวัด สวนป่า สวนสาธารณะ ปลูกริมทะเล ไม่ควรปลูกใกล้สนามเด็กเล่น

                 ประโยชน์ : -

ต้นชงโค

ต้นชงโค

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia purpurea
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ : Orchid Tree, Purder
ชื่ออื่นๆ : เสี้ย วดอกแดง, เสี้ยวดอกขาว
ถิ่นกำเนิด : ทวีปเอเซีย
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
ดอกชงโคมีหลายสี เช่น ชมพู ขาว ม่วง ชาวอินเดียถือว่าเป็นไม้สวรรค์ขึ้นอยู่ในเทวโลกและถือว่าเป็นไม้ของพระลักษมี
นิยมปลูกร่วมกับ กาหลง และ โยทะกา เพราะมีใบคล้ายกัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชงโคเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นผลัดใบสูงประมาณ 15 เมตร ใบเป็นรูปไข่แยกเป็น 2 แฉกลึก ช่อดอกออกตามกิ่งข้างและจำนวนดอกน้อย กลีบดอกขาวหรือม่วง ลักษณะคล้ายดอกกล้วยไม้ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เกสรตัวผู้ 5 อัน ขนาดไม่เท่ากัน มีผลเป็นฝักขนาดกว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม.

การปลูกและดูแลรักษา
ชงโคเป็นไม้ที่ชอบแดด ควรปลูกในที่ได้รับแสงแดดทั้งวัน ดินปลูกควรเป็นดินร่วนระบายน้ำดี

ต้นอินทนิล

ต้นอินทนิล


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
ชื่อสามัญ  Queen's crape myrtle , Pride of India
วงศ์  LYTHRACEAE
ชื่ออื่น :   ฉ่วงมู  ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ)  บางอบะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส) บาเย  บาเอ (มลายู-ปัตตานี) อินทนิล (ภาคกลาง, ใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่ไว สูง 5-20 เมตร ลำต้น ต้นเล็กมักคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะเปลา ตรง โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน มักจะมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือพื้นดินขึ้นมาไม่มากนัก ดังนั้น เรือนยอดจึงแผ่กว้าง พุ่มแบบรูปร่มและคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อยเท่านั้น ต้นอินทนิลน้ำที่พบตามธรรมชาติในป่าทั่วๆ ไป จะมีเรือนยอดคลุมลำต้นประมาณเก้าในสิบส่วนของความสูงทั้งหมด ผิวเปลือกนอกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน และมักจะมีรอยด่างเป็นดวงสีขาวๆ ทั่วไป ผิวของเปลือกค่อนข้างเรียบ ไม่แตกเป็นร่องหรือเป็นรอยแผลเป็น  เปลือกหนาประมาณ 1 ซม.  เปลือกในออกสีม่วง  ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 11-26 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม เส้นแขนงใบ มี 9-17 คู่ เส้นโค้งอ่อนและจะจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ๆ ขอบใบเส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัดนัก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. เกลี้ยง ไม่มีขน ดอก โต มีสีต่างๆ กัน เช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพู หรือม่วงล้วนๆ ออกรวมกันเป็นช่อโต  ยาวถึง 30 ซม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ๆ ปลายกิ่ง ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฎชัด และมีขนสั้นปกคลุมประปราย กลีบดอกบาง รูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบเป็นคลื่นๆ บ้างเล็กน้อย เมื่อบานเต็มที่จะมีรัศมีกว้างถึง 5 ซม. รังไข่ กลม เกลี้ยง ผล รูปไข่เกลี้ยงๆ ยาว 2-2.5 ซม.  เมื่อแก่จะแยกออกเป็น 6 เสี่ยง เผยให้เห็นเมล็ดเล็กๆ ที่มีปีกเป็นครีบบางๆ ทางด้านบน
ส่วนที่ใช้ :
ใบ เปลือก ราก เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ใบ - รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ขับปัสสาวะ
  1. ก่อนใช้ใบอินทนิลน้ำรักษาโรคเบาหวาน คนไข้ควรให้แพทย์ตรวจน้ำตาลในเลือดหรือในปัสสาวะดูเสียก่อนว่า "มีปริมาณน้ำตาลในเลือดอยู่เท่าใด" เมื่อทราบปริมาณน้ำตาลในเลือดแน่อนอนแล้ว จึงปฏิบัติดังนี้คือ
  2. ให้ใช้ใบอินทนิลน้ำตากแห้งจำนวน 10% ของปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ เช่น คนไข้มีน้ำตาลในเลือด 300 มิลลิกรัม ให้ใช้ใบอินทนิลน้ำ 30 ใบ บีบให้แตกละเอีดย
  3. และใส่น้ำบริสุทธิ์เท่าปริมาณความต้องการของคนไข้ผู้นั้นใช้ดื่มในวันหนึ่งๆ เทลงในหม้อเคลือบ หรือหม้อดิน ไม่ควรใข้ภาชนะอลูมิเนียมต้มยา แล้วเคี่ยวให้เดือดประมาณ 15 นาที
  4. นำน้ำยาใบอินทนิลน้ำชงใส่ภาชนะไว้ให้คนไข้ดื่มแทนน้ำตลอดวัน ติดต่อกันไป 20-30 วัน จึงควรตรวจน้ำตาลในเลือดของคนไข้ผู้นั้นอีกครั้งหนึ่ง
  5. เมื่อปรากฎว่าปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ลดปริมาณเหลือน้อยลงก็ให้ลดจำนวนใบอินทนิลน้ำลงตามปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ สมมุติว่า น้ำตาลในเลือดของคนไข้ลดลงเหลือ 200 มิลลิกรัม ก็ควรลดจำนวนอินทนิลน้ำลงเหลือ 20 ใบ แล้วนำไปต้มเคี่ยวให้คนไข้ดื่มน้ำ ดื่มต่อไปทุกๆ วันติดต่อกัน 15-21 วัน จึงควรตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้อีกครั้งหนึ่ง หากน้ำตาลลดลงอีกก็ให้ลงปริมาณใบอินทนิลน้ำให้เหลือ 10% ของปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ จนกระทั่งน้ำตาลลดลงอยู่ในระดับปกติ จึงควรงดใช้ใบอินทนิลน้ำให้คนไข้รับประทานชั่วคราว
  6. หากปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้เพิ่มขึ้นผิดปกติเมื่อใด ก็ให้คนไข้เริ่มรับประทานใบอินทนิลน้ำใหม่ สลับกันจนกว่าคนไข้ผู้นั้นจะหายป่วยจากโรคเบาหวาน เป็นปกติ

ต้นตะแบก

ต้นตะแบก


ชื่อสามัญ                   Cananga
ชื่อวิทยาศาสตร์         Cananga odorata
ตระกูล                      ANNONACEAE

ลักษณะทั่วไป
ตะแบกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางและใหญ่ลำต้นสูงประมาณ10-25 เมตรโคนต้นเป็นพูเป็นเหลี่ยมยิวเปลือกมีสีเทาปนน้ำตาลอ่อนผิวเปลือกค่อนข้างเรียบมีรอยขรุขระเป็นหลุมตื้นๆ เกิดสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆ มีเปลือกใบเป็นใบเดี่ยวออกตามกิ่งก้าน ปลายยอดลักษณะใบมนขอบขนาน เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยงเรียบเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อยาว ลักษณะดอกมีกลีบรอบดอกเป็นรูปถ้วยเชื่อมติดกับดอก มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ ริมขอบกลีบจะย่นบาง ดอกมีสีม่วงอ่อน ขนาดผลยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเมื่อแก่จะแตกเป็นเสี้ยว 6 เสี้ยวภายในผลมีเมล็ดเล็ก ๆ

การเป็นมงคล
คน ไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นตะแบกไว้ประจำบ้านจะทำให้มีฐานะสูงขึ้น และมีความมั่นคง แข็งแรง เพราะ แบก คือ การแบกไว้ไม่ให้ตกสามารถยกขึ้นไว้ให้สูงไม่ให้ตกต่ำดังนั้นจึงมีแรงมากบางคน ก็เรียกต้องตะแบกว่าเสลา หมายถึง ความแข็งแรงแข็งแกร่งเหมือนกับหินนอกจากนี้ยังมีคนโบราณเรียกต้นตะแบกว่า อินทนิล ซึ่งมีความหมายว่าพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์มากซึ่งช่วย คุ้มครองปวงชนทั้งโลก ดังนั้นต้นตะแบกจึงเป็นไม้มงคลนาม


ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อ เป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นตะแบกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณ เชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่ง ขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความ ดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

การขยายพันธุ์               การเพาะเมล็ด

การปลูก
นิยมปลูกลงในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก: ดินร่วน อัตรา 1: 2 ผสมดิน ถ้าปลูกบริเวณบ้านหรืออาคาร ควรให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะตะแบกเป็นต้นไม้ที่ทรงพุ่มโต

การดูแลรักษา
แสง                            ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้งน้ำ                               ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้งดิน                              ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลางถึงสูงปุ๋ย                              ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2 : 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4 - 5 ครั้ง ใช้       ปุ๋ยเคมี สูตร 15 - 15 - 15 อัตรา 200 - 300 กรับ / ต้น ใส่ปีละ 3 - 4                                    ครั้งโรค                             ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนต่อโรคพอสมควรศัตรู                            หนอนเจาะลำต้นอาการ                          ส่วนยอดอ่อนถูกเจาะเป็นรู ทำให้ส่วนยอด เหี่ยวแห้งและหักในที่สุดการป้องกัน                   รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูกและทรงพุ่มการกำจัด                      ใช้ยาโมโนโครฟอส (Monocratohos) อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

ต้นปาล์ม


ต้นปาล์ม

ปาล์ม (อังกฤษ: Palm) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่อยู่ในวงศ์ Arecacae (บางข้อมูลใช้ Palmae) นับเป็นพืชวงศ์ใหญ่ที่สุด (รองจากหญ้า) ทั้งในแง่จำนวนของชนิด และปริมาณที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จำแนกได้กว่า 210 สกุล ราว 3,800 ชนิด เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวไม่แยกกิ่งก้านสาขา
พืชจำพวกปาล์มนี้มีร่องรอยในซากดึกดำบรรพ์ที่ เก่าแก่ถึงประมาณ 80 ล้านปีมาแล้ว ปัจจุบันนี้เราพบปาล์มได้ในหลากหลายพื้นทั่วโลก อันเนื่องจากปาล์มสามารถเติบโตในสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อนก็ตาม แต่ปาล์มสามารถเติบโตได้ตั้งแต่ละติจูด 30 องศาเหนือ ลงมาจนถึงละติจูด 30 องศาใต้
ปาล์มที่พบในเขตเหนือสุด คือ ปาล์มพัดยุโรป (Chamaerops humilis) ซึ่งเติบโตในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาตอนเหนือ ส่วนปาล์มที่พบตอนใต้สุด คือปาล์มนิเกา (Rhopalostylis sapida) ที่พบในนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแชแธม
ปาล์มก็ยังเติบโตบนพื้นที่สูงถึง 3,000 เมตร (บนเทือกเขาแอนดีส) ส่วนที่แห้งแล้งอย่างทะเลทราย (อินทผลัม) และที่ชื้นแฉะ ก็ยังเป็นที่อาศัยส่วนใหญ่ของปาล์มหลากหลายชนิด (เช่น จาก ชิด สาคู)
ปาล์มส่วนใหญ่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด กล่าวคือลำต้นเป็นข้อ มีใบบนยอดเพียงที่เดียว ไม่แตกกิ่งก้าน มีก้านใบที่ยาวและใหญ่ ลักษณะใบแตกต่างกัน แต่ก็ไปรวมกลุ่มกันที่ปลายก้านที่เดียว อย่างไรก็ตาม ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่ไม่ได้มีลำต้นสูงพ้นดิน แต่ก็มีลักษณะใบแบบปาล์ม ทำให้สังเกตได้ไม่ยากนัก ทยาย

ลำต้น

ปาล์มส่วนมากมีลักษณะลำต้นเดี่ยว งอกขึ้นจากพื้นต้นเดียว ไม่แตกหน่อ หรือแตกกิ่ง เช่น มะพร้าว หมาก ปาล์มน้ำมัน ตาล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่มีลำต้นเดียวแต่มีการแตกกอขึ้นในที่ใกล้กัน จึงปรากฏเป็นกอใหญ่ เช่น หมากแดง หมากเหลือง ปาล์มไผ่ ส่วนปาล์มที่มีขนาดลำต้นเล็ก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
นอกจากลักษณะเด่นทั้งสองแล้ว ยังมีลำต้นที่แตกกิ่ง เช่น ปาล์มกิ่ง (Hyphaene thebaica) นับว่ามีลักษณะที่โดดเด่นจากปาล์มชนิดอื่นๆ มากทีเดียว ส่วนปาล์มที่มีขนาดเล็กจะมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เช่น ระกำ หรือลำต้นทอดไปตามพื้นดิน เช่น จาก และลำต้นเป็นเถาเลื้อย ได้แก่ หวายทุกชนิด
ปาล์มส่วนใหญ่จะมีต้นสูง สามารถแบ่งเป็นสามส่วน คือ เรือนยอด (crown) ตั้งแต่ก้านใบขึ้นไป, คอยอด (Crownshaft) อยู่ระหว่างลำต้น และพุ่มใบ, และส่วนลำต้น (trunk) ตั้งแต่โคนขึ้นมาจนถึงคอ
ข้อหรือวงแหวนรอบลำต้นนั้น นับเป็นจุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งของปาล์มทีเดียว ซึ่งเกิดจากการร่วงหลุดของก้านใบนั่นเอง บางชนิดเมื่อร่วงแล้วลำต้นเกลี้ยง บางชนิดแม้ใบจะเหี่ยว แต่ก้านใบก็ไม่หลุดเสียเลยทีเดียว
ปาล์มบางสกุลมีลำต้นที่อ้วนป่องตรงกลาง (ปาล์มขวด,ปาล์มแชมเปญ) มีการสะสมน้ำไว้ในลำต้นขณะที่ปาล์มขนาดเล็กบางชนิดมีรกพันที่ลำต้น (จั๋ง, เคราฤๅษี)

ใบ

ลักษณะใบของปาล์ม ถือเป็นจุดเด่น และว่าเป็นข้อสังเกตที่สำคัญ เพราะในของปาล์มนั้นเป็นใบประกอบ มีก้านใบที่ยาว และมีใบย่อยเรียงรายจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นก้านยาวชูขึ้นไปบนยอด แล้วคลี่ขยายออกมาออกมา จำแนกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ใบรูปขนนก และใบรูปพัด หรือฝ่ามือ
  • ใบรูปขนนก (Pinnate) มีก้านใบเป็นแกนกลาง และมีใบย่อยเรียงสองข้าง ที่เห็นชัดก็ได้แก่ มะพร้าว หมาก ปาล์มขวด นอกจากนี้ยังมีใบของเต่าร้าง ที่เป็นรูปขนนกสองชั้น และใบปาล์มหางกระรอก เป็นใบพวง
  • ใบรูปพัดหรือรูปฝ่ามือ (fan leaf, palmate leaf) กล่าวกันว่า ชื่อของปาล์ม (palm) ก็มาจากลักษณะที่คล้ายกับฝ่ามือ (palm) นั่นเอง ใบรูปพัด มีลักษณะคล้ายพัดจีน มีใบย่อยแตกออกจากจุดปลายของก้านใบในรัศมีวงกลม แผ่ออกไป ติดกันบ้าง แยกกันบ้าง เช่น ใบตาล ลาน ปาล์มพัด เป็นต้น
มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากใบของพืชจำพวกปาล์มมาช้านาน ที่รู้จักกันดีก็คือใบจาก ใช้มุมหลังคา ห่อขนม (ขนมจาก) ขณะที่ในชนบท ยังนิยมใช้ใบจากมวนยาเส้นใช้สูบ ส่วนมะพร้าวนั้นใบค่อนข้างแคบ นำมาตัดเป็นแถวสั้นๆ คาดห่อใบตอง อย่างห่อหมก ขนมสอดไส้ เป็นต้น เมื่อเลาะใบออก เหลือก้านใบ สีเหลืองตัดเป็นท่อนสั้นๆ ใช้เป็นไม้กลัด หรือนำก้านยาวๆ มามัดรวมกันเป็นไม้กวาดก้านมะพร้าว
ใบของกะพ้อ มีลักษณะคลี่บานเหมือนพัด คลี่ออกแล้วห่อขนมได้ ส่วนใบลานนั้น เหนียวและหนาพอที่จะใช้จารอักษรโดยเฉพาะ คัมภีร์ในพระพุทธศาสนาได้ และยังเก็บได้เป็นเวลานานนับร้อนๆ ปี นอกจากนี้ยังใช้ทำงานจักสานได้ด้วย

ผล

ผลของพืชจำพวกปาล์มโดยมากมีเปลือกแข็ง มีขนาดที่หลากหลาย ตั้งแต่เล็กมาก เช่น หวาย จนถึงขนาดปานกลาง เช่น หมาก อินทผลัม และขนาดใหญ่ อย่างมะพร้าว หรือมะพร้าวแฝด ผลปาล์มหลายชนิดรับประทานได้ ที่รู้จักกันดี ก็คือ ตาล จาก ชิด สละ ระกำ มะพร้าว หมาก (ใช้เคี้ยว) ปาล์มที่มีผลขนาดใหญ่ที่สุด คือมะพร้าวแฝด (Lodoicea maldivica)
ลักษณะผลของปาล์มส่วนใหญ่มีความคล้ายกัน บางชนิดก็มีผลเล็กมาก ออกเป็นช่อ เป็นทะลายเช่นเดียวกับหมากและมะพร้าว ส่วนเปลือกของผลระกำและสละนั้นบางมาก เปลือกนอกของปาล์มหลายชนิดเป็นเส้นใยเกาะตัวหนาแน่น ผลปาล์มส่วนใหญ่เหมาะแก่การแพร่พันธุ์เป็นอย่างยิ่ง หลายชนิดมีเปลือกนอกที่เบา มีเส้นใยเกาะหนา ลอยน้ำได้ บางชนิดมีเปลือกบาง เป็นอาหารของสัตว์ป่า เมื่อคายหรือขับถ่ายเมล็ดออก ก็จะงอกงามได้ต่อไป

ดอก

จั่น หรือ ดอก ของพืชในวงศ์ปาล์มไม่ได้มีกลิ่นหอม ไม่มีกลีบดอกสวยงาม โดยมากเป็นดอกขนาดเล็ก และแข็ง ดอกของปาล์มนั้นประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ เกสรตัวผู้ 3-6 อัน หรือมากกว่า เกสรตัวเมียมีรังไข่ 1-3 อัน ดอกของปาล์ม ออกเป็นช่อเป็นพวง ช่อดอกที่ยังอ่อนของปาล์มหลายชนิด เมื่อปาดส่วนปลายออก จะได้น้ำหวาน ทำน้ำตาลสด น้ำตาลปึก และน้ำตาลเมา ได้
ปาล์มส่วนใหญ่จะออกดอกเป็นระยะเรื่อยไปตลอดอายุขัย แต่มีปาล์มบางชนิดออกดอกครั้งเดียวเท่านั้น ทว่ากว่าจะออกดอกนั้นใช้เวลานานมาก เมื่อออกดอกและให้ผลแล้วต้นก็จะตายไป เนื่องจากใช้อาหารที่สะสมในลำต้นจนหมด ปาล์มที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ สาคู
ปัจจุบันมีความนิยมปลูกปาล์มเป็นไม้ประดับมากขึ้น ผู้ที่สนใจศึกษาปาล์มชนิดต่างๆ สามารถชมได้ที่สวนแสนปาล์ม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม


ต้นโมก

ต้นโมก


ด้วยดอกของต้นโมกที่มีสีขาวสะอาด มองแล้วรู้สึกสบายตา อีกทั้งให้ความรู้สึกสบายใจ พร้อมกลิ่นหอมระเรื่อ ทำให้รู้สึกสดชื่นตลอดทั้งวัน ประกอบกับที่คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นโมกไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความสุขความบริสุทธิ์ ยิ่งทำ ให้ต้นโมกเป็นหนึ่งในตัวเลือกสำหรับคนที่อยากจะปลูกไม้ดอก ไม้ประดับเพื่อตกแต่งสวนในบ้าน ดังนั้นกระปุกดอทคอมจึงไม่รอช้านำข้อมูลของ ต้นโมก ไม้ดอกกลิ่นหอม ๆ ชนิดนี้มาฝากกัน แล้วคุณจะรู้ว่าต้นโมกนั้นปลูกได้ไม่ยากเลยค่ะ....
  ลักษณะของต้นโมก

      ต้น  เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ผิวเปลือกสีนำตาลดำ ลำต้นกลมเรียบมีจุดเล็ก ๆ สีขาวประทั่วต้น แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบลำต้นไม่เป็นระเบียบ

      ใบ  ใบเดียวออกเรียงกันเป็นคู่ตามก้านใบลักษณะใบ เป็นรูปไข่ รี ปลายใบมนแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบบางสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร

      ดอก  ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอก 4-8 ดอก ดอกจะคว่ำหน้าลงสู่พื้นดินมีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่มีขนาด ประมาณ 2 เซนติเมตร

      ฝักหรือผล  รูปทรงกระบอกจะออกมาเป็นคู่ ลักษณะโค้งงอเข้าหากัน ภายในมีเมล็ดเรียงอยู่เป็นจำนวนมาก ขนาดความยาวของฝักประมาณ 10-15 เซนติเมตร

      เมล็ด  จำนวนมาก มีขนสีขาวเป็นกระจุกที่ปลาย  ออกดอกตลอดปี

  ประโยชน์ของต้นโมก

          คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นโมกไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความสุขความ บริสุทธิ์เพราะ โมก หรือ โมกข หมายถึงผู้ที่หลุดพ้นด้วยทุกข์ทั้งปวง สำหรับส่วนของดอกก็มีลักษณะ สีขาว สะอาด มีกลิ่นหอมสดชื่นตลอดวัน นอกจากนี้ ยังช่วยคุ้มครองปกป้องภัยอันตรายเพราะต้นโมกบางคนเรียกว่าต้นพุทธรักษา ดังนั้น จึงมีความเชื่อว่าต้นโมกสามารถคุ้มกันรักษาความปลอดภัยทั้งปวงจากภายนอกได้ เช่นกัน และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นโมกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์

นอกจากนี้ โมกยังมีสรรพคุณทางยาเช่นกัน ดังนี้

      ราก ใช้รักษาโรคผิวหนัง เรื้อน คุดทะราด แก้พิษสัตว์กัดต่อย

      ใบ ใช้ขับน้ำเหลือง

      ดอก เป็นยาระบาย

      เปลือก เป็นยาช่วยให้เจริญอาหาร รักษาโรคไต

      ยางจากต้น ช่วยรักษาโรคบิด

  วิธีการปลูกต้นโมก

      การปลูกโมกลงดินในแปลงปลูก

          การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก

      การปลูกโมกในกระถาง

          การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ขุยมะพร้าว : ดินร่วนอัตรา 1 : 1 : 1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางบ้างแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มและการเจริญ เติบโตของทรงพุ่ม และควรเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินเดิมที่เสื่อมสภาพไป

  การดูแลรักษาต้นโมก

      แสง ต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

      น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง

      ดิน ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง

      ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

  การขยายพันธุ์ต้นโมก

          มีทั้งการตอน, การเพาะเมล็ด และ การปักชำ แต่วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ โดยการปักชำต้นโมกนั้นทำได้โดยการตัดกิ่ง จากนั้นนำเอาไปปักชำไว้ในดินที่ไม่อุ้มน้ำมากเกินไป ที่สำคัญคือกิ่งที่ปักชำนั้นต้องโดนแดดส่องถึงเพื่อช่วยในการเจริญเติบโต แต่ต้องไม่โดนแดดจัดมากเกินไปนัก ทั้งนี้ต้นโมกไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร

ต้น เสลา

ต้น เสลา


ชื่อพื้นเมือง เกรียบ ตะเกรีบ ตะแบกขน เสลา

ลักษณะทั้วไป เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอด ทรงกลม หรือ ทรงกระบอก หนาทึบ ใบเดี่ยวรูปไข่แกนขอบขนาน เป็นไม้ประจำ จ.นครสวรรค์

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง มี� กลีบ โคนดอกเป็นก้านสั้น มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ม่วงอมแดง กลีบดอกบางยับย่น ดอก ธันวา - มีนาคม
ผล กลมรี เปลือกแข็ง

ด้านภูมิทัศน์ ดอกสวยงาม ควรปลูกให้ร่มเงาในบ้านหรือ ในสวนเพราะเป็นไม้พุ่มใบห้อยย้อยลงสวยงาม
ประโยชน์ ใบบดกับกำยานใช้ทาผดผื่นคัน ผลใช้ทำไม้ประดับแห้ง

ต้นโพธิ์

โพธิ์

ชื่อพื้นเมือง ปู โพ โพศรีมหาโพธิ์ ย่อม สลี

ลักษณะทั่วไป: ไม้ต้นใหญ่ สูง 20-30 เมตร ผลัดใบระยะสั้น เรือนยอดแผ่กว้าง ลำต้นใหญ่สั้นและเป็นพูพอน กิ่งก้านแผ่ขยาย มีรากอากาศไม่มากเปลือกเรียบสีนำตาลบนเทา

ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่กว้างหรือสามเหลี่ยม ใบยาวคล้ายหาง โคนใบรูปหัวใจ
ดอก:  สีเขียวอ่อน ออกรวมเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่งมีดอกตลอดปี
ผล: ผลสดแบบมะเดื่อ ทรงกลมสีม่วงดำ ออกผลตลอดปี

ด้านภูมิทัศน์:  ให้ร่มเงา และทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี

ประโยชน์:  เปลือกต้นทำยาชง แก้โรคหนองใน ใบและยอดอ่อนแก้โรคผิวหนัง

คนโบราณเชื่อว่า: บ้านใบปลูกต้นโพธิ์ไว้ประจำบ้านจะทำให้ เกิดความรมเย็น เพราะต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ในพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธเจ้าประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์ รัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ต้นปีบ

ต้นปีบ


ชื่อพันธุ์ไม้ ปีบ
ชื่อสามัญ Cork Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonia hortensis Linn. F
วงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น กาซะลอง กาดสะลอง ( ภาคเหนือ) , เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) , ปีบ (ภาคกลาง)
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5- 20 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปไข่แกมใบหอกกว้าง 1.5- 2.5 ซม. ยาว 3- 5 ซม. ขอบใบหยักห่างๆ ดอก (Flower) เป็น ดอกช่อ( inflorescence flower) แบบ panicle สีขาว กลิ่นหอม ออกรวมกันเป็น ช่อโตๆตามปลายกิ่ง แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง แต่ละดอกมีรูปร่าง เป็นหลอดรูปแตรเรียวยาวถึง 6 ซ.ม. ปลายหลอดจะ แยกบานเป็น 5 แฉก แต่ละดอกจะมีเกสรผู้ 4 อันกับ หลอดท่อเกสรตัวเมีย 1 หลอด ยาวพ้นปากหลอดออก มาเล็กน้อย ตัวดอกห้อยลง ดอกจะบานในตอนกลางคืน พอเช้าดอกจะร่วงเกลื่อนใต้โคนต้น ฤดูดอก คือ ช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค.
ผล ( fruit) เป็นผลเดี่ยว( simple fruit) ประเภท ผลแห้ง( dry fruit) แบบ legume เป็นฝักแบน ตรง หัวแหลม ท้ายแหลม ขนาด กว้าง 2 ซ.ม.ยาว 30 ซม. เป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก
เมล็ด( Seed) รูปร่างแบนๆบาง ๆ สีขาวและมี ครีบเป็นปีก เพื่อประโยชน์ในการปลิวไปตามลมได้ไกลๆ ขนาดรวมทั้งปีกประมาณ 1.3 x 2.5 ซม.เมล็ดมีปีก ก็จะบินไปร่วงหล่นที่อื่น เพื่องอกเป็นต้นใหม่ต่อไป
ประโยชน์ใช้สอย
ปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีใบ และดอกสวย โดยนิยม ปลูกไว้ตามทางเข้าบ้าน หรือตามมุมบ้าน ดอกให้กลิ่นหอม ชื่นใจดี คนสมัยโบราณนิยมเก็บดอกปีบมามวนผสมบุหรี่ นัยว่า ให้รสชาติหอมชื่นใจ แต่ตามตำราสมุนไพร พื้นบ้านบอกว่า ดอกปีบมีฤทธิ์รักษาโรคหอบ หืด โดยให้มวนเป็นบุหรี่สูบ ใครที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่ ลองเก็บ ดอกปีบ มาใส่ขวดเล็กๆ (ขวดซุปไก่สกัดกำลังพอดี) วางประดับตามบ้าน เพราะจากการวิจัยพบว่า สารระเหยในดอกปีบมีฤทธิ์ขยายหลอดลมได้ และดีกว่าตัวยาที่ใช้ในยาแผนปัจจุบันบางตัวเสียอีก

ต้น ลีลาวดี

ต้น ลีลาวดี (ขาวพวง)

ชื่ออื่นๆ: ลีลาวดี

ลักษณะทั่วไป: เป็นไม้พุ่มทรงกลม ขนาดกลาง

ดอก: สีขาวออกดอกตลอดปี ดอกหอม

ข้อดีของพันธ์ไม้ และ ภูมิทัศน์:�ใบ สวยงามที่สุดในตระกูล ลีลาวดี ทรงพุ่มโดยธรรมชาติสวยงาม ปลูกได้ดีในที่มีนำน้อย แห้งแล้งและ ดินเค็ม เป็นพันธ์ไม้หอมที่เหมาะสำหรับการบุกเบิกพื้นที่

ประโยชน์: ดอกตากแห้ง ต้มกินได้ แก้อาการไอ บำรุงบอด รักษาอาการร้อนใน เปลือกรากใช้ รักษาโรคหนองในและกามโรค เมล็ดเป็น ยาห้ามเลือด นำยาง ทาแก้โรคหิด ใช่ใส่แผล

ต้นปรง


ต้นปรง


ชื่อทางพฤกษศาตร์  :  Cycas  Siamensis
วงศ์  :  CYCADACEAE
ชื่อที่เรียก  :  ในไทยทั่วๆ  ไปเรียก  ปรง,  ปรงป่า  ทางพายัพเรียกมะพร้าวเต่า
ลักษณะ  :  เป็นไม้พุ่มล้มลุกลงหัวใหญ่  ก้านใบกลมแข็ง  ยาวราว  2  ฟุตเศษๆ
                   ใบออกเป็น   2   ข้างเป็นคู่ๆ  กันไปตลอดก้าน  คล้ายกระดูกงู  ใบเล็ก
                    แหลมยาวและแข็ง  ยาวราว  3  นิ้วฟุต  ต้นเตี้ยแจ้  แบบเป็นพุ่มศีรษะโต
                    กิ่งก้านงอกงาม  เจริญจากศีรษะงามน่าดูทีเดียว  มีดอกที่ยอดขกงต้นสวยน่าดุ
การเจริญเติบโต  :  มีขึ้นตามป่าโปร่ง  ป่าแดง  ที่แห้งแล้งเชิงเขา  มีมากทางภาคเหนือ  ตาม
                            บ้านและวัดก็มีปลูกกัน  เพราะเอามาใช้ทำพวงหรีดได้ดี  ต้นปรงเป็นต้นไม้
                            ที่ทนทานต่อดินฟ้าอากาศ  อาศัยแต่น้ำค้างก็เจริญเติบโตได้  ขยายพันธุ์ด้วย
                            การแยกหน่อ
ประโยชน์  :  เอาใบมาทำพวงหรีด  ใช้ใบ  2  ก้านโด้งเข้าหากันจะเป็นวงโค้งงามใบก็แข็ง  ทนทาน
                   ดีมาก  ปลูกไว้เป็นไม้ประดับบ้านใส่กระถางก็งามน่าดูทีเดียว
สรรพคุณ :  ดอกมีรสเผ็ด  บำรุงร่างกายให้สมบูรณ์  แก้ลมดีและเสมหะพิการ  บำรุงธาตุ  หัว  นำมา
                  ฝนปรุงกับสุรา  แก้ฟกบวม  รักษาแผลเรื้อรัง  แก้แผลกาย  ใช้เป็นยาสมานแผลได้ดีมาก
                  ปรงนี้  นำมาทำเป็นยา  ใช้ทาแผลที่อักเสบ  หรือใช้ดูดหนองฝีและดับพิษ  ชาวป่าทางภาค
                  เหนือนิยมใช้กันมาก    

ต้นตะโก

ต้นตะโก


ชื่อสามัญ Ebony
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyios rhodcalyx.
วงศ์ EBENACEAE
ชื่ออื่น ตะโกนา , โก , นมงัว , มะโก , มะถ่าน , ไฟผี , พระยาช้างดำ
การกระจายพันธุ์ พบกระจายจากพม่าจนถึงภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทั่วไปทุกภาค
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะทั่วไป
ต้น ไม้ยืนต้น สูง 15 เมตร เปลือกต้นขรุขระสีน้ำตาลเข้มเกือบดำกิ่งอ่อนสีน้ำตาล
ใบ ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ กว้าง 2- 7 เซนติเมตร ยาว 5- 12 เซนติเมตร ดคนใบสอบ ปลายใบโค้งมน เรียงสลับ
ดอก สีขาว แยกเพศ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบดอก 4 กลีบ ยาว 8- 12 เซนติเมตร เชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท ปลายแยกเป็นแฉกสั้น ๆ เกสรตัวผู้ 14-16 อัน ดอกเพสเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอก 4 กลีบ คล้ายดอกเพศผู้เทียม 8-10 อัน มีขนาดใหญ่กว่าดอกตวผู้ ออกดอกและติดผลช่วง มีนาคม - มิถุนายน
ผล ผลสด ทรงกลม มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดอยู่ ผิวมีขนละเอียด มีขนาด 2- 3 เซนติเมตร เมื่อสุกสีส้มแดง
เมล็ด
นิเวศวิทยา
พบขึ้นทั่วไปตามป่าละเมาาะ ทุ่งนา ป่าเบญจพรรณแล้งที่ระดับความสูง 40- 300 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ประโยขน์
ข้อมูลจากเอกสาร ปลูกเป็นไม้ดัด ไม้ประดับ เนื้อไม้ แข็งเรง ใช้ทำเครื่องเรือนและเครื่องมือ ผลอ่อนใช้ย้อมผ้า แห อวน ผลสุก รับประทานได้มีรสหวานอมฝาด เปลือกต้น แก่น บำรุงธาตุ ขับระดูขาว ต้มกับเกลือรักษาเหงือกบวม แก้ปวดฟัน ผล แก้ท้องร่วง คลื่นไส้ ขับพยาธิ แก้ฝี ปวดบวม เปลือกผล เผาเป็นถ่าน แช่น้ำกินขับปัสสาวะ
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย
เปลือกต้น ผสมกับอย่างอื่น ๆ ดองเหล้า ต้มดื่ม เป็นยาอายุวัฒนะ
การปลูก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากโตช้า , การตอนกิ่ง ใช้วิธีขุดล้อมมาจากธรรมชาติก็ได้หากปลูกลงดิน ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ดินร่วน อัตรา 1:2 ผสมดินปลูก
หากปลูกใส่กระถาง ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12–24 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ดิน ร่วนอัตรา 1:1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถางทุกๆ 2–3 ปี หรือตามการเจริญเติบโตของต้นตะโกที่ปลูก
ตะโก เป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมใช้ทำไม้ดัดมากที่สุด เนื่องจากเป็นไม้พื้นเมืองที่พบตามป่าธรรมชาติทั่วประเทศ ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ง่ายต่อการปลูกเลี้ยง บำรุงรักษา จึงเหมาะที่จะนำมาทำเป็นไม้ดัดประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือก ผลอ่อน ผลแก่ ผลดิบ เมล็ด
รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
1. เปลือก รสฝาดเฝื่อน สมาน ลดไข้
2. เปลือกและผลอ่อน รสฝาดเฝื่อน แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ไข้มาลาเรีย
3. เปลือกและผลแก่ รสฝาดเฝื่อนหวาน รักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ
4. ผลดิบ รสฝาด สมานแผล ห้ามเลือด แก้บิด แก้ท้องร่วง
5. เมล็ด รสฝาดเฝื่อน แก้บิด แก้ท้องร่วง
ขนาดและวิธีใช้
1. รักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ ใช้เปลือกและผลแก่ ต้มเป็นยาอม กลั้วคอ
2. ชะล้างบาดแผล สมานแผล ใช้เปลือกและผลอ่อน ต้มเอาน้ำชะล้าง
3. แก้บิด ใช้เปลือกอ่อนและผลอ่อน ต้มรับประทาน